ร่วมสร้างนวัตกรรม ปลุกพลังบวก
เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน
ภายใต้หัวข้อ
“Moral move”
แรงขับเคลื่อนแห่งสังคมคุณธรรม
ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 150,000 บาท
โจทย์การแข่งขัน
“MORAL MOVE”
แรงขับเคลื่อนแห่งสังคมคุณธรรม
ร่วมสร้างนวัตกรรม ปลุกพลังบวก เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน

โลกในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีและนวัตกรรมจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจ โดยสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้คนในสังคม เช่น ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย รวดเร็ว ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ฯลฯ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำว่า นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) ได้ถูกกล่าวถึงค่อนข้างบ่อย และได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือ / กลยุทธ์ในการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ลักษณะที่สำคัญของนวัตกรรมเพื่อสังคม คือ ต้องเป็นสิ่งใหม่ มีการตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และเกิดการนำไปใช้ปฏิบัติอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ นวัตกรรมยังสามารถพัฒนาเป็นเครื่องมือเพื่อระดมทุนแก่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ให้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นอีกด้วย
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ปี 2554 มีพันธกิจหลักคือ การขับเคลื่อนและสนับสนุนการส่งเสริมคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในปีงบประมาณ 2565 ศูนย์คุณธรรมได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการเสริมสร้างค่านิยมเชิงบวก สังคมคุณธรรม และความเป็นไทยที่รองรับความเปลี่ยนแปลงตามบริบทของสังคมไทยและสังคมโลก โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการแข่งขัน Moral Hackathon 2022 การพัฒนาแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม เมื่อวันที่ 29 กันยายน ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน ประชาชนทั่วไป ที่มีความสนใจงานด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ได้สร้างสรรค์แนวคิดในการแก้ไขปัญหาคุณธรรมในสังคม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก มีผู้เข้าแข่งขันทั่วประเทศเข้าร่วมส่งผลงานจำนวนไม่น้อยกว่า 40 ทีม
ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดกิจกรรมการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสังคมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ โดยเกิดผลลัพธ์ที่สำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทย ให้มีความรู้ที่เท่าทันและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบนิเวศด้านคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ในปีงบประมาณ 2566 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จึงได้มีแผนดำเนินการจัดกิจกรรมการแข่งขัน Moral Hackathon 2023 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เยาวชนที่มีความสนใจงานด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ได้ออกแบบสร้างสรรค์ วิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาคุณธรรมในสังคม หรือนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนด้านจิตสาธารณะ โดยผลงานการแข่งขัน Moral Hackathon 2023 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอสิ่งใหม่ที่สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ การให้บริการ กระบวนการ หรือรูปแบบการพัฒนาอันเป็นที่ยอมรับ เพื่อแก้ไขและตอบสนองต่อปัญหา / ผลกระทบทางสังคม เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม และพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของงานนี้
01
เเพื่อให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบแนวคิดสร้างสรรค์การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม ด้านจิตสาธารณะ
02
เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเครือข่ายเยาวชน และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และผลักดันประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญต่อเยาวชน
03
เพื่อพัฒนาและยกระดับองค์ความรู้ด้านคุณธรรม นวัตกรรมทางสังคม และทำให้เกิดการตระหนักถึงคุณค่าในการพัฒนาระบบนิเวศด้านคุณธรรม
04
เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อน SDGs ตลอดจนพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนให้สอดคล้องกับโอกาสของการประกอบอาชีพในอนาคต
05
เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และบทบาทของศูนย์คุณธรรม ในฐานะเป็นหน่วยงานส่งเสริมด้านการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม การสื่อสาร และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านคุณธรรม
กลุ่มเป้าหมาย
นิสิต / นักศึกษา ในระดับปริญญาตรี
นักศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
หลักเกณฑ์ในการส่งผลงานเข้าแข่งขัน
1
การออกแบบแนวคิดนวัตกรรมด้านจิตสาธารณะ
ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น
2
นวัตกรรมที่ออกแบบ
อาจมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หรือเป็นนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อสังคม
3
สามารถนำมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมได้จริง
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
เกณฑ์การให้คะแนนจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นเกณฑ์ดังนี้
การตั้งโจทย์และ/หรือการกําหนดทิศทางของโครงการ
การวิเคราะห์ปัญหาและ/หรือการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย
ความน่าสนใจของผลงาน / โครงการ
แนวทางในการพัฒนาต่อยอดในอนาคต
การจัดทําหรือการสร้างผลงานที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้จริง

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- อายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 25 ปี ไม่จำกัดประสบการณ์ เชื้อชาติ / สัญชาติ
- กำลังศึกษาในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี
- พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยในระหว่างโครงการ
- ผู้สมัครต้องไม่อยู่ระหว่างการแข่งขันโครงการในลักษณะเดียวกันในระหว่างโครงการ
- ผู้สมัครต้องสามารถร่วมกิจกรรมได้ทุกวันตามเวลาที่กําหนดไว้ประกาศหรือตามวันแข่งขัน
- เกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด และยินดียอมรับผลการตัดสิน รวมถึงกฎเกณฑ์และเงื่อนไขการตัดสินทุกประการ
- โครงการที่เสนอในโครงการจะต้องเป็นผลงานที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ ทรัพย์สินทางปัญญาอื่น หรือสิทธิ์ใด ๆ ของบุคคลอื่น
- ผู้สมัครจะต้องถ่าย Clip VDO เเนะนําตัว พร้อมแนวความคิดด้านการพัฒนาสังคมคุณธรรม ความยาวไม่เกิน 3 นาที สําหรับใช้ส่งเข้ารอบคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม BOOTCAMP
- สมัครเข้าร่วมกิจกรรม BOOT CAMP ได้ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม ถึง วันที่ 9 มิถุนายน 2566 นี้
รางวัลการแข่งขัน
แบ่งออกเป็น 5 รางวัล ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ (1 รางวัล)
ได้รับเงินรางวัล มูลค่า 100,000 บาท
ป้ายรางวัล พร้อมประกาศนียบัตรรายบุคคล
รางวัลรองชนะเลิศ (1 รางวัล)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 35,000 บาท
ป้ายรางวัล พร้อมประกาศนียบัตรรายบุคคล
รางวัลชมเชย (3 รางวัล)
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท
ป้ายรางวัล พร้อมประกาศนียบัตรรายบุคคล
*หมายเหตุ: ผู้ที่ได้รับรางวัลมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย (5%) ของเงินรางวัลที่ได้รับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Phone: 094-229-6137 (กวิน) / 084-356-4199 (ต้นฝน)
E-mail: moralhackathon@gmail.com
Line@ Official : @moralhackathon
